• พอดแคสต์: บทที่ 8 — ความยุติธรรมของอัลกอริทึม

    image

    ยินดีต้อนรับสู่บทที่ 8 ของพอดแคสต์ศาสตร์แห่งการเรียนรู้ 
     
    แขกรับเชิญในครั้งนี้ของเราคือ Dr Rose Clesham ผู้อำนวยการ ฝ่ายมาตรฐานทางวิชาการและการวัดผล (การประเมินภาษาอังกฤษ)  ของ Pearson เพื่อสำรวจความซับซ้อนของการประเมินอิเล็กทรอนิกส์ และความยุติธรรมของอัลกอริทึม รวมถึงข้อดีของการทดสอบด้วย คอมพิวเตอร์ 
     
    เราจะสนทนาถึงประสบการณ์ของ Dr Clesham ในการพัฒนาการทดสอบ ของหลักสูตรระดับประเทศ รวมถึงเนื้อหาของการทดสอบแบบวินิจฉัยและ สร้างเสริม (0:57) พื้นฐานของการทำความเข้าใจความถูกต้องของ การประเมิน (3:46) การพัฒนาล่าสุดเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ในการประเมิน อิเล็กทรอนิกส์ (8:11) ความท้าทายจากความต่างด้านวัฒนธรรม ในการพัฒนาและใช้การประเมินที่เป็นมาตรฐานและเป็นปึกแผ่น (14:43) ความท้าทายในการทำให้อัลกอริทึมไม่มีอคติจากโปรแกรมเมอร์ที่เป็น มนุษย์ (17:07) การลดความกลัวของผู้เรียนต่อการทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์ (23:11) และอีกหลายเรื่อง 

     

    read more
  • PTE Academic คือมาตรฐานระดับโกลด์: เหตุผลก็เพราะ

    image

    Pearson Test of English (PTE) เป็นมาตรฐานระดับโกลด์ด้านการทดสอบทักษะภาษาอังกฤษสำหรับผู้เรียน   

    PTE เปิดประตูนำคุณสู่มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยที่ได้รับการยอมรับระดับโลก ทุนการศึกษาที่ช่วยพลิกชีวิต และวีซ่านักเรียนและนักศึกษา   

    ลองมาดูเหตุผลที่ทำให้ PTE ถือเป็นการทดสอบทักษะภาษาอังกฤษสำหรับการศึกษาต่างประเทศและการยื่นขออพยพอย่างแท้จริง

    read more
  • การเรียนรู้แบบออนไลน์กับแบบผสมผสาน แบบใดดีกว่ากัน?

    article

    ในโลกยุคก่อนเทคโนโลยี รูปแบบการสอนดั้งเดิมมักพึ่งพาสื่อสิ่งพิมพ์เป็นหลัก ดังเช่นการใช้สมุดนักเรียนสำหรับงานในชั้นเรียน และสมุดแบบฝึกหัดสำหรับการบ้าน 

    แนวทางดังกล่าวเป็นที่ยอมรับว่าได้ผลดี และที่ผ่านมารากฐานโครงสร้างของชั้นเรียนก็ไม่ค่อยแตกต่างไปจากเดิม แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปในปัจจุบันก็คือ การแพร่หลายของเทคโนโลยีและบทบาทของเทคโนโลยีในโลกการศึกษา เมื่อเราถูกรายล้อมด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า รูปแบบการเรียนการสอนก็ย่อมเปลี่ยนไปเช่นกัน 

    ตลับเทปเคยถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการศึกษาในยุคปี 1970 และ 80 จากนั้นเราก็เริ่มก้าวเข้าสู่ความล้ำหน้าทางคอมพิวเตอร์ในช่วงปี 1990 ซึ่งปูทางสู่การใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กอย่างหลากหลายในชั้นเรียน นับตั้งแต่นั้นมาเราก็เริ่มเล็งเห็นโอกาสของการสอนแบบออนไลน์ ในฐานะแนวทางการสอนรูปแบบใหม่ที่ช่วยเสริมการเรียนรู้แบบดั้งเดิม 

    แม้เทคโนโลยีในช่วงนั้นมีข้อจำกัด แต่ก็ถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญของการสอน เพราะทำให้นักการศึกษาตระหนักว่า การเรียนการสอนสามารถเกิดขึ้นได้นอกชั้นเรียน และก่อให้เกิดประโยชน์มหาศาลต่อผู้เรียน 

    ภายใต้บริบทของการสอนภาษาอังกฤษ ปัจจัยบางส่วนมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนรู้ อันประกอบด้วย: ความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นของผู้เรียนที่อยากเข้าถึงข้อมูลในทุกเวลาที่ต้องการ, การแข่งขันที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้เป็นที่สนใจ และวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 

    ท้ายสุดแล้ววิธีที่เราเรียนรู้มิได้เป็นเส้นตรง และแต่ละคนมีแนวทางการเรียนรู้ในแบบของตนเอง ดังนั้นผู้สอนจึงยังคงพบกับความท้าทายในการออกแบบแนวทางที่เหมาะสมสำหรับผู้เรียนภาษาอังกฤษยุคใหม่ แล้วแนวทางใดดีที่สุด? 

    ลองมาทำความรู้จักการเรียนรู้แบบออนไลน์และการเรียนรู้แบบผสมผสาน ไม่ว่าจะเป็นแบบผสมระหว่างชั้นเรียนและออนไลน์ การเรียนรู้แบบเฉพาะบุคคล การเรียนรู้แบบดิจิทัล ฯลฯ เรามักได้ยินนิยามเหล่านี้อยู่บ่อยครั้ง แต่ก็ยังไม่ชัดเจนอยู่ดีว่าแต่ละอย่างมีลักษณะและการทำงานอย่างไรในการปฏิบัติจริง 

    ทำความรู้จักกับแนวทางการเรียนรู้แบบออนไลน์ 

    การเรียนรู้แบบออนไลน์คืออะไร? แนวทางดังกล่าวก็คือสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่อยู่บนโลกออนไลน์ ผู้เรียนสามารถฝึกฝนได้บ่อยครั้งตามที่ต้องการ ทำการบ้านในเวลาที่สะดวก และสามารถควบคุมการเรียนรู้ของตนเอง 

    คุณคาโย ทางุชิ ผู้จัดการฝ่ายดูแล ELT (English Language Teaching) ของ Pearson Asia กล่าวว่า แง่มุมที่เป็นประโยชน์สูงสุดของแนวทางการสอนแบบออนไลน์ก็คือ ปริมาณข้อมูลมหาศาลที่เราจะได้รับ นั่นหมายถึงเราสามารถติดตามความคืบหน้า วิเคราะห์ตัวเลขต่างๆ ที่บ่งบอกลักษณะของผู้เรียนแต่ละคน และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนรู้ได้ในที่สุด  

    “ผู้สอนสามารถสร้างสภาพแวดล้อมชั้นเรียนแบบออนไลน์ ซึ่งรองรับกิจกรรมโต้ตอบได้หลากหลาย เช่น แบบสำรวจความคิดเห็น ห้องเรียนย่อย ตลอดจนกิจกรรมกลุ่มในรูปแบบออนไลน์ สิ่งที่ได้รับก็คือ โอกาสที่ผู้เรียนสามารถเปลี่ยนไปทำการบ้านนอกชั้นเรียน หรือแม้แต่การศึกษาเพิ่มเติมตามเวลาที่ตนเองสะดวก ซึ่งเป็นไปได้ด้วยสภาพแวดล้อมแบบออนไลน์”

    แม้แนวทางการเรียนรู้แบบออนไลน์ทำให้ผู้เรียนเกิดความสร้างสรรค์ในการทำการบ้านและการศึกษาเพิ่มเติมนอกหลักสูตรตามแนวทางของตนเอง แต่การใช้แนวทางแบบออนไลน์เพียงอย่างเดียวก็มีความท้าทายเช่นกัน  

    ในมุมมองของคุณคาโย แนวทางดังกล่าวต้องพึ่งพาการเข้าถึงเทคโนโลยี ต้องมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ดี และผู้เรียนต้องมีวินัย 

    “มีแง่มุมด้านเทคโนโลยีที่เราต้องคำนึงถึงเมื่อจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ เช่น เมื่อไม่สามารถสื่อสารได้โดยไม่ตั้งใจ หรือหากผู้เรียนไม่มีคอมพิวเตอร์ หรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ไม่ต่อเนื่อง หรือผู้เรียนสนใจสิ่งอื่นบนโทรศัพท์ นี่คือความท้าทายที่พบได้ทั่วไป” 

    สำหรับผู้สอนก็ต้องพบกับปัจจัยด้านการบริหารจัดการที่ต้องคำนึงถึงในการนำชั้นเรียนขึ้นระบบออนไลน์ อีกทั้งยังต้องศึกษาทักษะใหม่ๆ ของแพลตฟอร์มเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากสภาพแวดล้อมชั้นเรียนแบบออนไลน์  

    คุณคาโยกล่าวว่า แนวทางการสอนแบบออนไลน์จะมีประสิทธิภาพสูง หากได้รับการฝึกฝนและเตรียมวางแผนไว้อย่างชัดเจน 

    “ตัวอย่างเช่น หากผู้เรียนขาดเรียน ผู้สอนก็สามารถมอบวิดีโอบันทึกการสอนแบบออนไลน์ หรือไฟล์ PDF ที่มีเนื้อหาภาพรวมของบทเรียนให้แก่ผู้เรียน และในช่วงเวลาที่ไม่ปกติอย่างเช่นกรณีของโควิด-19 คุณก็สามารถเข้าเรียนหลักสูตรต่างๆ ได้จากทุกที่ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาชั้นเรียนแบบเดิมอีกต่อไป” 

    แล้วแนวทางการเรียนรู้แบบผสมผสานคืออะไร? 

    ดังความหมายที่แฝงไว้ในชื่อดังกล่าว การเรียนรู้แบบผสมผสานก็คือ การผสมผสานระหว่างสองรูปแบบ ได้แก่ การเรียนรู้แบบดั้งเดิมและการเรียนรู้แบบออนไลน์ หากถ่ายทอดออกมาในรูปแบบแผนภาพเวนน์ เราจะได้แผนภาพดังนี้:  

    • พื้นที่ A แทนการเรียนรู้แบบออนไลน์
    • พื้นที่ B แทนการเรียนรู้แบบดั้งเดิม 
    • ยูเนียนของ A และ B แทนการเรียนรู้แบบผสมผสาน  
    read more
  • INFOGRAPHIC: คู่มือเริ่มต้นสำหรับ PTE Academic

    infographic

    แบบทดสอบ Pearson Test of English Academic(PTE) คือแบบทดสอบวัดระดับภาษาอังกฤษโดยเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก

    แบบทดสอบ PTE ใช้วิธีการวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษที่รวดเร็วและยืดหยุ่นเพื่อการสมัครเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย

    นอกจากนี้ PTE ยังเหมาะสมสำหรับยกระดับผู้เรียนภาษาอังกฤษเพื่อการทำงานอย่างเป็นมืออาชีพ

    ข้อมูลอินโฟกราฟิกด้านล่างได้ทำการสรุปสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับแบบทดสอบ PTE 

    read more
  • ข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลกำลังเปลี่ยนแปลงวิธีที่เราเรียนภาษาอังกฤษอย่างไร

    article

    Untitled Document

    ในขณะที่การเรียนภาษาอังกฤษกำลังเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นในเอเชีย นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการเรียนรู้ก็กำลังเปลี่ยนแปลงวิธีที่นักการศึกษาในภูมิภาคดังกล่าวใช้เพื่อรับมือความท้าทายในการเสริมความชำนาญอันจำเป็นต่อผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของภาษาทั้งในบริบทของสถานศึกษาและวิชาชีพ 


    บทบาทที่เพิ่มขึ้นของการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการศึกษา ซึ่งทำให้ผู้สอนสามารถรวบรวมและวิเคราะห์ผลการเรียนของผู้เรียนได้ในแทบจะทันที และสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อปรับรูปแบบการเรียนรู้ให้เหมาะสม ทั้งหมดล้วนส่งผลต่อวิธีที่ผู้สอนและผู้เรียนใช้ในการสอนภาษาอังกฤษ (ELT) และกลุ่มผู้เรียนภาษาที่มีความแข็งขันซึ่งอยู่ในบางพื้นที่ของภูมิภาคกำลังได้รับประโยชน์จากเรื่องดังกล่าว   


    ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่อย่างเวียดนามและไทยกำลัง “เกิดความต้องการและความกระหายด้านการเรียนภาษา” ด้วยตระหนักว่าความเข้าใจและความสามารถในการสนทนาภาษาเพิ่มเติมโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อความก้าวหน้าทางอาชีพ อ้างอิงตามคำกล่าวของคุณสจ๊วต คอนเนอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายคุณวุฒิและการประเมินของ Pearson Asia

     
    รัฐบาลของทั้งสองประเทศตระหนักถึงความต้องการดังกล่าว และกำลังเปลี่ยนแปลงหลักสูตรภาษาอังกฤษและอาชีวศึกษา เพื่อมอบความช่วยเหลือที่จำเป็นแก่ประชาชนเพื่อเป้าหมายแห่งความเจริญก้าวหน้าในเศรษฐกิจโลก ประเทศดังกล่าว “เล็งเห็นถึงความสำคัญของภาษาอังกฤษที่มีต่อความสำเร็จในอนาคต ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโต และดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศให้เพิ่มสูงขึ้น” คุณสจ๊วต กล่าว 


    อย่างไรก็ดีการเตรียมตัวผู้เรียนภาษาอังกฤษเพื่ออนาคตที่สดใส จำเป็นต้องอาศัยความเหมาะสมทั้งในด้านสื่อการเรียนการสอน สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ และการประเมินคุณวุฒิ อันประกอบด้วยการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานระดับสูงเพื่อความสำเร็จ อาทิ การใช้สื่อการเรียนการสอนตามมาตรฐานสากลของ ESL (ภาษาอังกฤษในฐานะภาษาที่สอง) และการมุ่งเป้าไปที่ระดับ B1 หรือระดับกลาง ตามกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาของยุโรป (CEFR) อันเป็นความเห็นของคุณสจ๊วต 


    เจาะลึกเรื่องข้อมูล

     
    อย่างไรก็ดีเป้าหมายอันแรงกล้าที่น่ายกย่องดังกล่าวมาพร้อมคำถามอีกหลายข้อ:  

    • ผู้เรียนควรเริ่มเรียนภาษาตั้งแต่ระดับใด  
    • มีเวลาเพียงพอที่จะผลักดันให้ผู้เรียนก้าวสู่ระดับทางภาษาที่ต้องการเมื่อจบการศึกษาหรือไม่  
    • ผู้สอนมีคุณวุฒิหรือความสามารถที่เหมาะสมในการถ่ายทอดทักษะต่างๆ ที่จำเป็นต้องสอนหรือไม่  
    • ผู้สอนมีสื่อการเรียนการสอนที่จำเป็นซึ่งช่วยส่งเสริมพัฒนาการหรือไม่ 


    ดังนั้นการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลด้านการเรียนรู้และความชำนาญทางภาษาจึงมีบทบาทสำคัญในฐานะเครื่องมือของนักการศึกษา ผู้เรียนแต่ละคนมีความประสงค์ในแบบของตน ดังนั้นเส้นทางการเรียนรู้รายบุคคลจึงเป็นเรื่องสำคัญ ตามความเห็นของคุณคาโย ทางุชิ ผู้จัดการฝ่ายดูแล ELT ของ Pearson Asia ดังนั้นการตระหนักถึงระดับความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน และการมีเป้าหมายที่ชัดเจนด้านพัฒนาการในแต่ละช่วงเวลา จึงมีความสำคัญในการจัดการด้านพัฒนาการทางภาษา  


    “แต่ละคนเรียนรู้ได้ไม่เท่ากัน ดังนั้นในชั้นเรียนเดียวกัน จึงมีทั้งผู้ที่เรียนช้าและเรียนเร็ว” คุณคาโย กล่าว “แต่ละคนมีจุดเด่นและจุดด้อยต่างกันไป และจำเป็นต้องรับได้ความใส่ใจ”  


    เราจะทราบได้ก็ด้วยการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้เล็งเห็นถึงจุดเด่นและจุดด้อยโดยละเอียด เมื่อนำข้อมูลดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ ก็จะช่วยสร้างวงรอบข้อคิดเห็นที่ช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ด้านการเรียนรู้อันเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตัว และมีประสิทธิภาพ ดังที่คุณสจ๊วตระบุว่า “วงรอบข้อคิดเห็นของการสอน การเรียน การประเมิน ล้วนต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง” 


    คุณคาโยยังกล่าวด้วยว่า ข้อมูลเชิงลึกลักษณะดังกล่าวเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นและมีแรงบันดาลใจในการศึกษาเรียนรู้ต่อไป “ความสามารถในการบ่งชี้จุดเด่นและจุดด้อยของผู้เรียนแต่ละคนจะช่วยนักการศึกษาในการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้เรียน” คุณคาโย กล่าว อีกทั้งยังเสริมด้วยว่า สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวช่วยถือเป็นสิ่งล้ำค่าต่อกระบวนการที่ว่า 


    อนาคตของการเรียนภาษา 


    เทคโนโลยีช่วยเหลือนักการศึกษาให้สามารถสอนได้ดีขึ้นอย่างไร “Pearson ใช้เครื่องมือหลายอย่าง ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลในกระบวนการเรียนรู้ เพื่อถอดรหัสรูปแบบและสร้างภาพร่างของชั้นเรียนและผู้เรียนแต่ละคนได้อย่างรวดเร็วและในปริมาณมาก” คุณสจ๊วต กล่าว  


    ความสามารถด้านการวิเคราะห์ที่ขับเคลื่อนโดยข้อมูลของ Pearson ช่วยในการบันทึกรายละเอียดที่ครอบคลุม และนำเสนอข้อมูลได้อย่างรวดเร็วในรูปแบบที่ผู้สอนเข้าใจได้ง่าย ทำให้สามารถนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปใช้ในการตัดสินใจให้ดียิ่งขึ้น ทั้งในด้านวิธีการสอน และแนวทางการใส่ใจและดูแลผู้เรียนแต่ละคน  


    ตัวอย่างเช่น Pearson ใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) เพื่อวัดผลทดสอบอย่างรวดเร็วและแม่นยำ รวมถึงสามารถจำแนกผลการเรียนของนักเรียนแต่ละคนตามทักษะ ซึ่งจำแนกได้แม้กระทั่งทักษะการพูด และหากผู้เรียนมีจุดอ่อนในบางเรื่อง เช่น ในการพูดบางระดับภายใต้บางบริบท ระบบก็สามารถให้ข้อคิดเห็นและคำแนะนำว่าควรเน้นย้ำหัวข้อใดในสื่อการเรียนการสอนของหลักสูตรเพื่อเสริมทักษะดังกล่าว ซึ่งทั้งหมดถูกจัดการโดยอัตโนมัติผ่านเทคโนโลยี โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ใดเข้าไปจัดการ 


    นักการศึกษายังสามารถถ่ายทอดการสอน รวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ผลการเรียนได้จากระยะไกล ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่กำลังมีความสำคัญอย่างมาก “เราต้องเปลี่ยนกระบวนวิธีการสอนโดยสิ้นเชิง สืบเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา จนทำให้เราต้องก้าวสู่การเรียนการสอนออนไลน์จากระยะไกลให้เร็วที่สุด” คุณสจ๊วต กล่าว  


    Pearson ได้ปรับตัวสู่วิถีใหม่แห่งโลกดิจิทัลที่เข้มข้นขึ้น โดยผสานการประเมินผลไว้ในสื่อการเรียนการสอนของหลักสูตร ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ผ่านระบบการเรียนการสอนของบริษัทในรูปแบบดิจิทัล 


    ดังนั้นไม่ว่าโลกของเราจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในยุคของ “ชีวิตวิถีใหม่” เทคโนโลยีและข้อมูลก็ยังคงส่งผลต่อการเรียนการสอนโดยจริงแท้และไม่เปลี่ยนแปลง

    read more